วันเสาร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ชาวพุทธตัวอย่าง : ศาตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์


ศาตราจารย์สัญญา  ธรรมศักดิ์ 


ประวัติ 

  ศาตราจารย์สัญญา  ธรรมศักดิ์ เกิดเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2450 เป็นบุตรของมหาอำมาตย์ตรี พระยาธรรมสารเวทย์เศษภักดี  ศรีสัตยาวัตตาพิริยพาหะ ( ทองดี ธรรมศักดิ์ ) กับคุณหญิงชื้น ธรรมศักดิ์ และได้สมรสกับคุณหญิงพะงา เพ็ญชาติ มีบุตรด้วยกัน 2 คน คือ นายชาติศักดิ์ ธรรมศักดิ์ กับนายแพทย์จักรธรรม  ธรรมศักดิ์

1.ชีวิตการศึกษา 
    
    นายสัญญา  ธรรมศักดิ์  การศึกษาที่โรงเรียนอัสสัมชัญบางรัก ขณะที่อายุได้ 11 ปี บิดาก็เสียชีวิตลง ทำให้ชีวิตที่ราบเรียบสุขสบายเปลี่ยนไปได้รับความยากลำบาก เพราะขาดหัวหน้าครอบครัว ซึ่งในระหว่านี้ก็ได้มีพระอรรถกฤคินิรุตติ์ ( ชม เพ็ญชาติ )เข้ามาให้ความช่วยเหลือดูแลเอาใจใส่ในทุกๆด้าน
    เมื่อท่านเรียนจบจากโรงเรียนอัสสัมชัญ คุณหญิงชื้นผู้เป็นมารดาก็นำไปฝากฝังไว้กับเจ้าพระยาอภัยราชามหายุติธรรมธร ( ม.ร.ว. ลพ สุทัศน์ ) ผู้เป็นเสนาบดีกระทรวงยุติธรรมระท่านจึงได้ทำงานเป็นนักเรียนล่ามประจำ กระทรวง และได้เข้าเรียนวิชากฎหมาย กระทรวงยุติธรรม ระหว่างนั้นก็ได้อุปสมบทที่วัดเบญจมบพิตร และได้ศึกษาพระธรรมวินัย  จนสอบไล่นักธรรมตรีได้ที่ 1
หลังจากจบการศึกษาเป็นเนติบัณฑิตไทย จากโรงเรียนกฎหมาย กระทรวงยุติธรรม ก็ได้สอบชิงทุน “รพีบุญนิธิ” ไปศึกษาวิชากฎหมายที่สำนักกฎหมาย  The  Middle  Temple  ประเทศอังกฤษ ตามหลักสูตร 3 ปี แต่ท่านใช้เวลาศึกษาเพียง 2 ปี 3 เดือน ก็สำเร็จเนติบัณฑิตอังกฤษ เมื่อ พ.ศ.2476



2. ชีวิตการทำงาน

    หลังสำเร็จการศึกษาจากประเทศอังกฤษ สัญญาได้เข้ารับราชการที่กระทรวงยุติธรรม ในตำแหน่งผู้พิพากษาฝึกหัด จากนั้นก็มีความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่ราชการในตำแหน่งผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ ข้าหลวงยุติธรรมภาค 4 ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดเชียงใหม่ ปลัดกระทรวงยุติธรรม ผู้พิพากษาศาลฎีกา ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะศาลฎีกา อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ และประธานศาลฎีกา ตามลำดับ
    ขณะที่ท่านรับราชการอยู่ที่กระทรวงยุติธรรม นอกจากท่านจะใช้วิชาความรู้ทางด้านกฎหมาย เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อชาติบ้านเมืองแล้ว บทบาทที่เด่นชัดอีกด้านหนึ่ง ก็คือบทบาททางด้านศาสนาโดยได้ร่วมก่อตั่ง “พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย” ซึ่งท่านได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ร่างข้อบังคับของสมาคม จนได้จดทะเบียนตั้งเป็นพุทธสมาคมแห่งประเทศไทยเป็นผลสำเร็จ เมื่อ พ.ศ. 2476
หลัง จากเกษียณอายุราชการแล้ว ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯให้ดำรงตำแหน่งองคมนตรี เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2511 และได้รับเชิญให้เป็นคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2514 ก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งขณะที่ดำรงตำแหน่งได้พัฒนามหาวิทยาลัยทั้งในด้านวิชาการ ด้านการบริหาร และการสร้างสิ่งปลูกสร้าง ตลอดจนการหาอุปกรณ์ต่างๆ ที่อำนวยประโยชน์ทางการศึกษาไว้มากมายเช่น จัดตั้งคณะวารสารศาสตร์และสื่อมวลชน เป็นต้น
ใน ขณะที่ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เกิดความไม่สงบทางการเมืองขึ้น มีการเดินขบวนเรียกร้องรัฐธรรมนูญของนิสิตนักศึกษาและได้เกิดการปะทะกัน ระหว่างรัฐบาลกับนิสิตนักศึกษา จนเกิดจลาจลขึ้นในบริเวณกว้างและกลายเป็นโศกนาฏกรรมวันมหาวิปโยค 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ทำให้จอมพลถนอม  กิติขจร ต้องลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้ ศาตราจารย์สัญญา  ธรรม ศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ขณะดำรงตำแหน่งท่านก็ได้พยายามแก้ไขปัญหาอย่างประนีประนอม และได้ลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 เพราะถูกกดดันจากฝ่ายต่างๆซึ่งเรียกร้องให้ทำในสิ่งที่กลุ่มของตนต้องการ และเปิดทางให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติเลือกนายกรัฐมนตรีที่พอใจ
    อย่างไรก็ตาม การลาจากตำแหน่งนายกรัฐมลตรีก็มีผลอยู่ 2 วัน เท่านั้น เมื่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีมติให้เลือกศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายก อีกครั้งหนึ่ง ฃึ่งตลอดระยะเวลาที่ได้รับบริหารราชการแผ่นดิน ศาสตราจารย์  ธรรม ศักดิ์ ก็ได้สร้างคุณูปการให้กับประเทศชาติอย่างมากเป็นอเนกอนันต์ เช่น การออกกฎหมายปฎิรูปที่ดินและพระราชบัญิญัติว่าด้วยการเช่านา เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่ชาวนา การยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของกรรมการผู้ใช้แรงงาน ด้วยการออกกฎหมายว่าด้วยพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์  และการปฎิรูปการศึกษา เริ่มนโยบายพึ่งพาการส่งออกและการนำเข้ามากขึ้น  เพื่อสนับสนุนการลงทุนให้หยั่งรากเติบโตขึ้นในระบบเศรษฐกิจไทย  พร้อมกับสนับสนุนส่งเสริมระบบสหกรณ์ตามแนวพระราชดำริทำให้ระบบเศรษฐกิจพึ่ง พาตนเองของประชาชนเจริญเติบโตขึ้น  และ ที่สำคัญได้แต่งตั้งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤตมิชอบใน วงราชการ (ป.ป.ป.) ขึ้นและได้ออกกฎหมายรับรองสถานะต่อมาจนได้เป็นของคณะกรรมการปราบปรามการ ทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ป.) ดังที่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญและกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญในปัจจุบันนี้
รัฐบาลสัญญา ธรรมศักดิ์  สิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2418หลังจากการเสร็จสิ้นการมอบหมายงานให้กับ ม.ร.ม. เสนีย์  ปราโมช หัวหน้ารัฐบาลชุดใหม่  ที่มาจากการเลือกตั้ง
หลังจากพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี  ก็ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้า  ให้เป็นองค์มลตรีในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2518 จนถึง  วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2518 ก็ได้รับมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้า  ให้เป็นประธานองมลตรีตลอดมา

 
3. ศาสนา งานด้านพระศาสนา

    ศาสตราจารสัญญา  ธรรมศักดิ์ เป็นผู้ใส่ใจพุทธศาสนามาตังแต่รุนหนุ่ม  และเป็นผู้ศึกษาถึงพุทธรรมอย่างลึกฃึ้ง  โดยได้อุทิศตน ให้แก่งานพระพุทธศาสนามายาวนานกว่า  40 ปี  ท่านได้เรียนรู้พระธรรมคำสั่งสอนขององ๕สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  และปรัชญาแห่งพระพุทธศาสนา  จากท่านเจ้า คุณ                                                                                                                                                 พระเทพมุนีแห่ง        วัดเบณจมบพิตร  ทั้งได้มีโอกาสสนทนาธรรม  และศึกษา พระพุทธนาธรรมอย่างกว้างขวาง กับท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุ  แห่ง วัดสวนโมกขพลาราม จนเป็นแรงบันดาลใจให้ท่านทุ่มเทการทำงานให้กับพุทธมาคมแห่งประเทศไทยอย่าง เต็มที่และเป็นที่ได้รับบทบาทต่อการส่งเสริมพระพุทธศาสนาโดยได้ดำรงตำแหน่ง นายกพุทธสมาคมแห่งประเทศไทย  และเป็นองค์การพุทธศาสนาสนิกสัมพันธ์แห่งโลกยาวนานถึง  15 ปี ซึ่งตลอดระยะเวลาอันยาวนานนี้ท่านได้บำเพ็ญประโยชน์ให้เกิดแก่อง๕การพุทธ ศาสนาเป็นอเนกประการ  ทำให้องค์การพุทธศาสนาสนิกสัมพันธ์แห่งโลกเป็นปึกแผ่นมั่นคงและวัฒนาถาวร  เป็นศูนย์รวมแห่งการเรียนรู้และการศึกษาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาของพุทธ ศาสนิกชนทั่วโลกอย่างสมบูรณ์  จนได้รับเหรียญเชิดชูเกรียติ ชั้นที่ 1  ในวาระฉลองครบรอบ 50 ปี ขององค์การพุทธศาสนิกชนสัมพันธ์โลก  เมื่อวันที่  6 ธันวาคม พ.ศ. 2543 ในฐานะบุคคลผู้คุณูปกรแก่องค์การพุทธศาสนา ท่ามกลางความชื่นชมยินดีของชาวพุทธทั่วโลก
ศาสตราจารย์สัญญา  ธรรมศักดิ์  ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.L. 2545 สิริรวมอายุได้  94 ปี


คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่าง

    1.เป็นผู้ใฝ่รู้ใฝ่ศึกษา อาจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ แม้จะเป็นลูกพระยา   แต่เมื่อสิ้นบิดา   ชีวิตก็ลำบากมีแม่คนเดียวิที่จะมาเกื้อหนุน มีพี่ชายคนโตฃึ่งเป็นข้าราชการกรมรถไฟ  ฃึ่งจะหวังเป็นที่พึ่งพาให้ได้  แต่พี่ชายก็มาเสียชีวิตขณะท่านเรียนอยู่ต่างแดนโชคดีที่ครอบครัวคหบดีฃึ่ง เป็นศิษย์ของบิดาท่านให้ความอนุเคราะห์
สนับสนุนให้เรียนและเข้าทำงาน ต่อมาท่านได้ทุน “รพับุญนิธิ” ไปศักษาวิชากฎหมายยังประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นทุนที่เอาดอกผลจากนูลนิธิมาใช้ ท่านจึงได้เงินใช้จ่ายประจำเดือนน้อยกว่านักเรียนทุนคนอื่นๆ ความจำกัดด้านทุนจึงกลายเป็นแรงขับที่สำคัญทำให้ท่านได้ใฝ่เรียนมากขึ้น เมื่อไม่ได้เที่ยวสนุกสนานกับคนอื่น เพราะเงินไม่มีก็เข้าห้องสมุดอ่านตำราด้วยความวิริยอุตสาหะจนสามรถสอบเป็น เนติบัณฑิตอังกฤษได้ในเวลาเพียง 2 ปี 3 เดือน ของหลักสูตร 3 ปีเต็ม ความใฝ่รู้ใฝ่เรียนของท่านได้ติดตัวมาตลอด จนในภายหลังได้สนใจศึกษาพระพุทธศาสนาและปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัดคนหนึ่ง

    2. เป็นผู้มีความกตัญญูกตเวที ในช่วงที่ตกยากเพราะสิ้นบิดานั้นพระยาอรรถกฤตินิรุตติ์ ( ชม เพ็ญชาติ) ซึ่งเป็นศิษย์ของบิดาที่ได้ให้ความช่วยเหลือ สนับสนุนให้เรียนและให้ทำงาน ท่านถือว่าชีวิตของท่านนอกจากแม่แล้วยังมีท่าสนผู้นี้เป็นผู้มีความอุปการ คุณจึงมีความรู้ศึกเป็นหนี้บุญคุณอย่างมาก เมื่อมีโอกาสสนองคุณท่านก็ยินดีทำเต็มความสามารถ อาจารย์สัญญาได้กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า “ท่าน เจ้าคุณอรรถกฤตินิรุตติ์เป็นผู้เดียวที่หมั่นมาเยี่ยมเยียนถามทุกข์สุข และให้กำลังใจแกแม่และข้าพเจ้า และในที่สุดท่านก็เป็นผู้ชักนำและรับรองให้ข้าพเจ้าได้เข้าเรียนวิชากฎหมาย เมื่ออายุ 18 ปี และได้อบรมสั่งสอนให้กำลังใจตลอดมาจนข้าพเจ้าไต่เต้าเป็นตัวเป็นตนมาจนถึง วันนี้

    3. เป็นผู้ซื่อสัตย์สุจริต  อาจารย์ สัญญาเป็นสัญลักษณ์แห่งความสุจริตเนื่องจากท่านได้รับการหล่อหลอมโดยสาย เลือดจากบิดาผู้เป็นนักกฎหมายที่ซื่อสัตย์ ยุติธรรมตลอดถึงแบบอย่างที่ดีจากผู้หลักผู้ใหญ่ที่มีบุญคุณ เช่น พระยาอรรถกฤตินิรุตติ์ผู้มีพระคุณทำให้ท่านเป็นผู้ยึดมั่นในความซื่อสัตย์ สุจริต ยุติธรรมยิ่งชีวิต รับราชการเกี่ยวกับกฎหมายเป็นผู้พิพากษา ตุลาการ ที่ยึดมั่นในคุณธรรมจนปรากฏแก่สายตาของสังคม ดังที่ท่านได้กล่าวไว้ว่า “ ความดีนั้นไม่ใช่สิ่งที่หายากเลย ไม่ต้องไปมองหาที่ไหน หาที่ตัวเราเอง ความดีทั้งหลายอยู่ที่ตัวเรานั่นแหละ”

   4. เป็นผู้ใฝ่ธรรม ท่านได้อุปสมบทเมื่ออายุครบ 20 ปี ได้สัมผัสกับความร่มเย็นแห่งพระธรรมลาสิขามาแล้วก็ใส่ใจศึกษาธรรมตลอดเวลา และได้ศึกษาธรรมจากท่านพุทธทาสภิกขุแห่งวัดสวนโมกขพลาราม นับเป็นผู้รู้ธรรมะลึกซึ้งและปฏิบัติตามได้คนหนึ่ง ท่านได้ดำรงตำแหน่งนายกพุทธสมาคมแห่งประเทศไทย และประธานองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลกยาวนานถึง 15 ปี และได้รับเหรียญเชิดชูเกียรติชั้นที่ 1 ( WFB GRAND MERIT MEDALA ) ในฐานะบุคคลผู้มีคุณูปการแก่องค์การพระพุทธศาสนา

   5. เป็นผู้จงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ อาจารย์สัญญาเป็นผู้ที่มีความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ มิใช่จงรักภักดีแต่เพียงในใจเหมือนพสกนิการอื่นๆ แต่มีโอกาสได้รับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาทอย่างใกล้ชิด ได้ดำรงตำแหน่งองคมนตรีและประธานองคมนตรีโดยลำดับเป็นเวลานานถึง 30 ปี ได้ใช้ความรู้ความสามารถสนองพระเดชพระคุณใต้เบื้องพระยุคลบาทอย่างถวายชีวิต ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตจนเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย ดังประจักษ์พยานหลักฐานจากจดหมายของดร. เชาน์ ณ ศีลวันต์ ถึงอาจารย์สัญญาว่า “กระผมได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ  พระ ตำหนักจิตรลดา มีเรื่องหนึ่งที่สั่งให้กระผมเชิญพระราชกระแสรับสั่งมายังท่านประธานว่า ที่อาจารย์สัญญาทำงาน (รับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาท ) มาโดยตลอด ยังไม่เคยทำอะไรผิดพลาดบกพร่องแม้แต่ครั้งเดียว”

ชาวพุทธตัวอย่าง : ม.จ.หญิงพูนพิสมัย ดิสกุล


ม.จ.หญิงพูนพิสมัย ดิสกุล   


 


พระประวัติ

     ท่านประสูติเมื่อวันที่17กุมภาพันธ์2438ณวังสามยอดพระนครพระบิดา คือสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพพระบิดาแห่งประวัติศาสตร์และโบราณคดีไทย ท่านทรงเรียนวิชาภาษาไทยกับคุณหญิงวิทยาปรีชามาตย์(อ่อง)กับข้าราชการในกรม ราชเสนาธิการทางด้านภาษาต่างประเทศทรงสนพระทัยเช่นเดียวกันทั้งภาษาอังกฤษ และฝรั่งเศส จนมีความรู้ภาษาอังกฤษแตกฉานได้เสด็จไปแสดงปาฐกถาในต่างประเทศและเข้าร่วม ประชุมพระพุทธศาสนาในประเทศศรีลังกาและประเทศเนปาลและทรงเป็นพระอาจารย์สอน วิชาประวัติศาสตร์ไทยและพุทธศาสนาของไทย ณ สถาบันตะวันออกซานฟรานซิสโกมหาวิทยาลัยดองกุก ประเทศเกาหลีใต้ ได้มอบปริญญาเอกสาขาปรัชญา ในฐานะที่ทรงเป็นผู้นำทางพระพุทธศาสนาด้วยความสำเร็จอย่างดีเยี่ยม ทรงทำให้ชาวพุทธทั่วโลกเข้าใจได้ดี
ผลงานและตำแหน่งที่สำคัญ

1. วรรณกรรมที่สร้างเกียรติยศชื่อเสียงได้แก่ บทนิพนธ์เรื่อง “ศาสนคุณ” ได้รับพระราชทานรางวัลที่ 1 เมื่อ พ.ศ. 2472 ทรงแสดงอักษรศิลป์ให้ผู้อ่านหนังสือเล่มนี้เลื่อมใสศรัทธาประสาทะในพระพุทธ ศาสนาอย่างยิ่ง
2. วรรณกรรมที่แพร่หลายในวงการ ได้แก่ ชุมนุมพระนิพนธ์เรื่อง “ประเพณีไทย”
3. สารคดีที่ทรงแต่งได้แก่ โลกเก่า โลกใหม่ ไปลังกาทวีป และตำรากับข้าว

นอกจากนี้ตอนปลายพระชนชีพได้ทรงพระนิพนธ์อีก 2 เล่มคือ เล่มแรกบรรจุประวัติบุคคลสำคัญและสารคดีในแหล่งต่าง ๆ ได้ 36 บทหรือ 36 เรื่อง เล่มที่สองมีเนื้อหาสาระเช่นเดียวกับเล่มแรกอีก 65 เรื่อง ทั้งสองเล่มชื่อว่า “ชุมนุมพระนิพนธ์”สำหรับตำแหน่งสำคัญ มีดังนี้

1. เมื่อ พ.ศ. 2489 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 8 โปรดเกล้าให้เป็นพระอาจารย์ถวายความรู้เกี่ยวกับพงศาวดารไทย
2. ท่านได้ดำรงตำแหน่งนายกพุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ นับเป็นสตรีคนแรกที่ได้รับเกียรตินี้
3. เป็นองค์ประธานองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลกท่านหญิงพูนพิสมัย ดิสกุล ทรงประกอบภารกิจไม่น้อยให้วงการพระพุทธศาสนาทั้งภายในประเทศและนานาประเทศ ด้วยความ
วิริยะอุตสาหะยิ่ง ในช่วงปลายพระชนม์ชีพทรงพักผ่อนด้วยโรคพยาธิ ณ ตำหนักเดิม ถนนหลานหลวง จนพระชมายุได้ 94 พรรษา

คุณธรรมที่เป็นแบบอย่าง

1. ท่านทรงนิพนธ์วรรณกรรม เรื่อง “ศาสนคุณ” ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา และทำให้ผู้ที่อ่านหนังสือเล่มนี้เกิดความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา
2. ท่านเป็นแบบอย่างของผู้หญิงที่ทรงเผยแผ่พระพุทธศาสนา โดยประกอบภารกิจใหญ่น้อยให้วงการพระพุทธศาสนาทั้งภายในและภายนอกประเทศ จนได้รับปริญญาเอกสาขาปรัชญาจากมหาวิทยาลัยดองกุก ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเคารพเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง และมีความวิริยะอุตสาหะที่จะเผยแผ่พระพุทธศาสนาตลอดพระชนม์ชีพของท่าน

ชาวพุทธตัวอย่าง : สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส



๑) พระประวัติ

     สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส พระนามเดิมว่า พระองค์เจ้ามนุษยนาคมาณพ ประสูติเมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๔o๒ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเจ้าจอมมารดาแพ
วันที่พระองค์ประสูตินั้น เกิดเหตุการณ์มหัศจรรย์ คือ ท้องฟ้าซึ่งแจ่มใสอยู่ก่อนหน้านั้น พลันมืดครึ้มและมีฝนตกลงมาอย่างหนัก จนน้ำนองชาลาพระตำหนัก พระราชบิดาทรงรำลึกถึงเหตุการณ์เมื่อครั้งพระพุทธองค์ประทับใต้ต้นมุจลินท์ (ต้นจิก) หลังตรัสรู้มีฝนตกพรำๆ ตลอดเจ็ดวัน พยานาคขึ้นมาจากพิภพบาดาล มาแผ่พังพานบังลมบังฝนให้ พระราชบิดาจึงทรงขนานพระนามพระราชโอรสว่า “มนุษยนาคมาณพ” แปลว่า คนผู้เป็นนาค หรือ นาคจำลองเป็นตนหนุ่ม
เมื่อทรงพระเยาว์ได้เรียนหนังสือขอม และภาษามคธจากพระยาปริยัติธรรมธาดา (เปี่ยม) เมื่อครั้งยังดำรงบรรดาศักดิ์เป็นหลวงราชาภิรมย์ปลัดกรมราชบัณฑิต เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) ทรงตั้งโรงเรียนสอนภาษอังกฤษขึ้น พระองค์เจ้ามนุษยนาคมาณพ ก็ได้เข้าศึกษาในโรงเรียนนี้ โดยมีมิสเตอร์ฟรานซิส แพตเตอร์สัน เป็นผู้ถวายความรู้
เมื่อพระชันษาได้ ๑๓ พรรษา ก็ทรงโสกันต์ (โกนจุก) ในปีรุ่งขึ้นก็ทรงผนวชเป็นสามเณร ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ ๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๑๖ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปวเรศวริยาลงกรณ์ ครั้งดำรงพระยศเป็นกรมหมื่นบวรรังสีสุริยพันธุ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ ทรงผนวชแล้วเสด็จมาประทับที่วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงผนวชอยู่เป็นเวลา ๗๗ วัน ก็ทรงลาสิกขา (สึก)

   ๑.๑) สาเหตุที่ผนวชเป็นภิกษุ หลังจากลาสิกขาจากสามเณรแล้ว อยู่ในวัยหนุ่มก็ไม่มีนิสัยคบกับสตรี จนมีความคิดว่าไม่อยากแต่งงาน อยากอยู่เป็นโสดมากกว่า พอดีได้ทรงรู้จักกัลยามิตรฝรั่งท่านหนึ่ง คือ หมอปีเตอร์ เคาวัน ทรงประทับใจในความเป็นอยู่อย่างง่ายแบบหมอเคาวัน หมอเคาวันได้ถวายคำแนะนำไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับอบายมุข จึงทรงถือหมอเคาวันเป็นอาจารย์ พระองค์ได้ศึกษาธรรมในพระพุทธศาสนาเป็นพื้นฐานแห่งชีวิต จนแน่ใจว่าชีวิตของพระองค์เหมาะสำหรับเป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์มากกว่าครอง เพศฆราวาส
วันหนึ่ง กรมพระยาเทววงศ์วโรปการ ทรงล้อพระองค์ต่อหน้าพระที่นั่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า เป็น “ผู้เข้าวัด” พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงเห็นด้วยรับสั่งว่า “กรมหมื่นนุชิตชิโรรส (สมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส) ก็ทรงผนวชไม่สึก” พระองค์กราบทูลว่า “บวชแล้ว ถ้าจะสึกก็สึกเมื่อพ้นพรรษาแรก หลังจากนั้นแล้วจะไม่สึก” คำนี้เสมือนหนึ่งเป็นปฏิญญาของพระองค์
สมเด็จ พระมหาสมณเจ้าฯ ทรงผนวชเป็นภิกษุเมื่อวันที่ ๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๒๒ เมื่อพระชันษาได้ ๒o พรรษา สมเด็จกรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ เป็นอุปัชฌาย์ พระจันทรโคจรคุณ (ยิ้ม จนฺทรงสี) วัดมกุฏกษัตริยาราม เป็นกรรมวาจารย์ ทรงผนวชแล้วเสด็จไปประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ต่อมาได้ย้ายไปประทับกับพระกรรมวาจาจารย์ ที่วัดมกุฏกษัตริยาราม
สาเหตุที่ทำให้พระองค์ผนวชก็คือ
(๑) การได้กัลยาณมิตรผู้มีนิสัยสงบ เรียบง่ายดังหมอเคาวัน
(๒) การได้พระอาจารย์ดีอย่างพระจันทรโคจรคุณ พระธรรมรักขิต และพระอุปัชฌา
จารย์คอยตักเตือนเสมอ
(๓) กระแสพระราชดำรัสชักชวนให้ผนวช ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า
เจ้าอยู่หัว
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงเข้าแปลบาลีได้เปรียญ ๕
ประโยค ได้รับพระราชทานสถาปนาให้ทรงเป็นกรมหมื่นวชิรญาณวโรรสเมื่อวันที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๒๔ และในปีนั้นเองก็ทรงได้รับตำแหน่งเป็นรองเจ้าคณะธรรมยุต

    ๑.๒) งานด้านการจัดการทางพระพุทธศาสนา ทรงได้รับสถาปนาเป็นอธิบดีสงฆ์ (เจ้าอาวาส) วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อพ.ศ. ๒๔๓๕ พระองค์ทรงวางระเบียบการบริหารวัดและพระพุทธศาสนา โดยทรงถือวัดบวรนิเวศเป็นแบบอย่างของวัดทั่วไป สรุปได้ดังนี้
(๑) ทรงจัดสอนภิกษุสามเณรผู้บวชใหม่ ให้ได้เรียนพระธรรมวินัย และภาษาไทย เริ่มจากทรงสอนในฐานะพระอุปัชฌาย์ ต่อมาขยายกว้างขึ้น จนกระทั่งเป็นแบบอย่างแก่วัดพระธรรมยุตอื่นๆ จนมีผู้เรียนทั่วทุกนิกาย ทรงเปิดประโยคนักธรรมสอบในสนามหลวง และสนามมณฑลต่างจังหวัด
(๒) ทรงจัดให้สวดมนต์ในพรรษาทุกวัน และให้ออกเสียงให้ถูกต้องตามฐานกรณ์ (ฐานเสียง)
(๓) ทรงจัดให้ภิกษุที่พรรษาต่ำกว่า ๕ ที่จบนักธรรมแล้ว มาเรียนบาลีทั้งหมด
(๔) ทรงจัดตั้งมหามกุฏราชวิทยาลัย โดยพระบรมราชานุญาต
(๕) ทรงจัดการเรียนการสอน ทั้งหนังสือไทยและความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ควบคู่กันไป ต่อมาเพื่อความเป็นเอกภาพในการศึกษาของชาติ จึงทรงใช้หลักสูตรของกรมศึกษาธิการแทน และโอนให้กรมศึกษาธิการจัดเป็นโรงเรียนรัฐบาล
(๖) ทรงฝึกพระธรรมกถึก จนสามารถแสดงธรรมปากเปล่าได้
(๗) ทรงจัดตั้งการฟังธรรมสำหรับเด็กวัดในวันธรรมสาวนะ ในเวลาค่ำโปรดให้สวดนมัสการพระรัตนตรัย รับศีล ๕ และฟังการอบรมสั่งสอนธรรม

   ๑.๓) งานนิพนธ์ทางพระพุทธศาสนา
(๑) ทรงตั้งหลักสูตร “สามเณรผู้รู้ธรรม” ทรงนิพนธ์ “นวโกวาท” ทดลองเรียนและสอบเฉพาะในวัดบวรนิเวทวิหารก่อน ต่อมาได้ขยายหลักสูตรนักธรรมตรี – โท- เอก สำหรับพระสงฆ์ทั่วไป
(๒) ทรงรจนาหนังสือแบบเรียนมากมาย อาทิ วินัยมุขเล่ม ๑-๒-๓ ธรรมวิจารย์ ธรรมวิภาค พุทธประวัติ แบบเรียนบาลีไวยากรณ์
(๓) หนังสือประเภทอื่นๆ เช่น ประเภทพระโอวาท พระธรรมกถา ประมาณ ๖๗ เรื่อง อาทิ ธรรมกถา (ประทานแก่ผู้แทนราษฎร) ประเภทประวัติศาสตร์และโบราณคดี อาทิ พงศาวดารสยาม ตำนานประเทศไทย ข้อความในตำนานเมืองเชียงแสน ประเภทอักษรศาสตร์ อาทิ ปรารภอักษรไทยที่ใช้สำหรับบาลี วิธีใช้อักษรในภาษามคธเทียบสันสกฤต วิธีแสดงไวยกรณ์ของตันติภาษา เป็นต้น
(๔) พระนิพนธ์ภาษาบาลี ทรงรจนาบทนมัสการพระรัตนตรัย ชื่อ นมสิการสิทธิคาถา (โยจักขุมา)

   ๑.๔) พระอิสริยยศ
(๑) ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงพระอิสริยยศที่พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส เมื่อพ.ศ. ๒๔๒๔
(๒) ทรงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนสมณศักดิ์เป็นเจ้าคณะใหญ่แห่งคณะธรรมยุติกนิกาย พ.ศ. ๒๔๓๖
(๓) ทรงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระอิสริยยศที่ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวชิรญาณวโรรส พ.ศ. ๒๔๔๙
(๔) ทรงได้รับพะกรุณาโปรดเกล้าฯ จัดพระราชพิธี “มหาสมณุตมาภิเษก” เลื่อนพระอิสริยยศขึ้นเป็น กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโรรส ทรงสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระมหาสังฆปรินายก หรือเป็นองค์พระประมุขสงฆ์ทั่วพระราชอาณาจักร เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๓ และเนื่องจากทรงเป็นพระบรมราชวงศ์ที่ทรงสมศักดิ์ขั้นสูงสุด จึงสถาปนาคำนำหน้าของพระองค์เป็น “สมเด็จพระมหาสมณ” (ต่อมาสมัยรัชกาลที่ ๖ทรงมีพระราชดำริจะถวายพระเกียรติยศให้สูงขึ้ จึงโปรดเกล้าๆ ให้เปลี่ยนคำนำหน้าพระนามจากสมเด็จพระมหาสมณเป็นสมเด็จพระมหาสมณเจ้า)









๒) คุณธรรมที่ควรถือเอาเป็นแบบอย่าง



 
    ๒.๑) ทรงมีความรู้ใฝ่ศึกษา ดังจะเห็นว่าสมัยยังทรงพระเยาว์ พยายามเอาแบบอย่างที่ดีจากผู้ที่พระองค์ประทับใจ เช่น พระยาปริยัติธรรมธาดา เห็นว่าเป็นคนมีความรู้และความประพฤดี คอยศึกษาหาความรู้จากท่านเหล่านั้นเสมอ เมื่อทรงผนวชแล้วก็ไปฝากตนเป็นศิษย์ศึกษาธรรมจากพระเถระอื่นๆ ทั้งที่มิได้เป็นอาจารย์และพระอุปฌาย์โดยตรง

   ๒.๒) ทรงมีความอ่อนน้อมถ่อมตนเป็นเลิศ พระองค์ทรงเป็น “เจ้านาย” มาผนวชเป็นถึงพระอนุชาธิราชในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กลับไม่ถือพระองค์ ทรงกราบไหว้พระภิกษุที่อายุพรรษามากกว่า แม้มีสมณศักดิ์ต่ำกว่า สมัยเป็นคฤหัสถ์ทรงเห็นครูผู้ถวายความรู้ถวายบังคมทุกครั้งก่อนถวายความรู้ พระองค์ทรงเห็นว่าเขาเป็นถึงอาจารย์ ยังอ่อนน้อมถ่อมตนต่อพระองค์ จึงทรงเอาเป็นแบบอย่างเสมอมา เพราะครูนอบน้อมต่อพระองค์ในฐานะสามัญชนปฎิบัติต่อเจ้า พระองค์ก็ต้องทรงแสดงความอ่อนน้อมถ่อมตนต่อครู

    ๒.๓) ทรงมีหิริโอตตัปปะเป็นเลิศ สมัยยังเป็นหนุ่ม เบื้องแรกทรงมีค่านิยมแบบฝรั่งใช้ของแพง ยี่ห้อดี ทรงใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย ไม่รู้จักประหยัด ห้างร้านส่งบิลมาเก็บเงินที่ “ท่านยาย” ก็รอดตัวไปหลายครั้ง มีครั้งหนึ่งจะถูกฟ้องไม่มีเงินไปใช้หนี้ บังเอิญเจ้าพระยาภาณุวงศ์โกษาธบดี ยับยั้งไว้และกราบทูลให้พระองค์นำเงินไปใช้ให้เขาเสีย พระองค์ก็ทรงปฏิบัติตาม ฝ่ายโจทก์จึงถอนฟ้อง ทรงสำนึกได้ว่าพระองค์สร้างความลำบากให้ “ท่านยาย” และผู้อื่น เพราะความประพฤติที่ไม่เหมาะสม ทรงมีความละอายต่อการทำชั่วทำผิด จึงทรงเลิกเด็ดขาด แต่เมื่อมีผู้ล้อว่า “เป็นคนเข้าวัด” ก็ทรงเข้มงวดพระจริยวัตรมากขึ้น ไม่ทำอะไรให้ใครตำหนิได้ ให้สมกับเป็นคนเข้าวัดจริงๆ คุณธรรมข้อหิริโอตตัปปะนี้ได้ซึมซับในพระทัยของพระองค์มากถึงขนาดว่า เมื่อทรงผนวชเป็นภิกษุใหม่ๆ พระเจ้าอยู่หัวทรงก้มกราบอย่างอ่อนน้อม ก็ทรงละอายพระทัยว่า พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระเชษฐาธิราชยังก้มกราบพระองค์ ควรที่พระองค์จะอยู่ในเพศบรรพชิตต่อไป ทรงประพฤติพระองค์ให้ควรแก่การกราบไหว้ ไม่ควรมีข้อน่าตำหนิได้ นี้คือแบบอย่างของผู้มีหิริโอตตัปปะเป็นเลิศ

    ๒.๔) ทรงมีความคิดริเริ่ม ทรงเห็นบทสวดมนต์นมัสการพระรัตนตรัยแบบเก่า (สัมพุทเธ) มีคติไปทางมหายานมากจึงทรงนิพนธ์ นมการสิทธิคาถา (โยจักขุมา) แทน เป็นความคิดริเริ่มที่เป็นแบบอย่างในการสืบทอดพระพุทธศาสนาอย่างถูกต้อง เมื่อทรงเป็นเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหารแล้วทรงริเริ่มฝึกพระภิกษุสงฆ์ให้มี ความสามารถในการถ่ายทอดพระธรรมให้เข้าใจง่าย ทรงนิพนธ์หนังสือคู่มือศึกษาพระพุทธศาสนาอย่างง่าย คือ นวโกวาท ซึ่งใช้เป็นหลักสูตรผู้บวชใหม่มาจนบัดนี้

    ๒.๕) ทรงมีวิสัยทัศน์กว้างไกล เนื่องจากทรงเป็นผู้ใฝ่รู้ใฝ่ศึกษา พระองค์จึงทรงมีวิธีคิดที่แยบคาย (โยนิโสมนสิการ) อย่างครบวงจรคือ คิดถูกวิธี คิดมีระเบียบ คิดเป็นเหตุเป็นผล และคิดก่อให้เกิดกุศล คือ สร้างสรรค์ในทางดี สมัยรัชกาลที่ ๕ ในยุคสมัยของพระองค์นั้น ความรู้แบบตะวันตกพร้อมทั้งกระแสวัฒนธรรมตะวันตก ได้แพร่เข้ามาสู่ประเทศไทย พระองค์ทรงมีวิธีคิดที่ดี คือ อะไรควรรับ อะไรควรปฏิเสธ หรือแม้แต่ที่รับมาแล้วจะต้องปรับประยุกต์ให้เข้ากับวิ๔ไทย แม้เมื่อทรงผนวชแล้ว ก็พยายามศึกษาศาสตร์สมัยใหม่แบบตะวันตกให้มีความรู้เท่านั้น เพราะทรงมองเห็นการณ์ไกลว่า พระสงฆ์มีหน้าที่สอนธรรม การสอนธรรมจะเป็นที่เข้าใจได้ดี ก็ต่อเมื่อผู้เทศน์ ผู้สอนมีความรู้ทั้งทางโลกทางธรรม

ชาวพุทธตัวอย่าง : พระมหาธรรมราชาลิไท

พระมหาธรรมราชาลิไท





๑) พระประวัติ

พระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พระยาลิไท) ทรงเป็นพระราวโอรส ของพระยาเลอไท พระมหากษัตริย์องค์ที่ ๕ แห่งกรุงสุโขทัย ตามประวัติศาสตร์กล่าวว่า ได้ทรงศึกษาวิชาชั้นต้นจากพระเถระชาวลังกา ซึ่งเข้ามาสอนหนังสือและเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างจริงจัง และเมื่อขึ้นครองราชย์ได้๕ ปี
ก็ทรงอุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา เมื่อ พ.ศ. ๑๙0๔ โดยนิมนต์พระเถระจากลังกามาเป็นพระอุปัชฌาย์
พระมหาธรรมราชาลิไท ทรงเป็นนักปราชญ์ที่รอบรู้ทั้งด้านศาสนา ด้านการปกครองและด้านอักษรรศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง ซึ่งประมวลด้ ดังนี้

๑.๑) ด้านศาสนา

๑. ทรงเชี่ยวชาญทางด้านศาสนา รอบรู้พระไตรปิฎกอย่างแตกฉาน ทั้งอรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา และปกรณ์พิเศษอื่นๆ โดยทรงศึกษาจากพระสงฆ์ผู้เชี่ยวชาญพระไตรปิฎกในขณะนั้น เช่น พระมหาเถรมุนีพงศ์ พระอโนมทัสสีเถรเจ้า เป็นต้น หรือจากราชบัณฑิตฝ่ายฆารวาส เช่น อุปเสนบัณฑิต เป็นต้น

๒. ทรงส่งเสริมอุปถัมภ์ด้านการศึกษาพระพุทธศาสนาและศิลปะศาสตร์ต่างๆ

๓. ทรงส่งราชบุรุษไปขอพระบรมสารีริกธาตุจากลังกาทวีปและได้ทรง นำมาบรรจุไว้ในพระมหาธาตุเมืองนครชุม (เมืองโบราณอยู่ในจังหวัดกำแพงเพชร)

๔.ทรงส่งราชฑูตไปอาราธนาพระสังฆราชมาจากลังกาทวีป มาจำพรรษาอยู่ที่วัดป่ามะม่วง นอกจากนี้ทรงผนวชในพระพุทธศาสนา และทรงสร้างพระพุทธรูปไว้หลายองค์

๑.๒) ด้าน การปกครอง
๑. โปรดให้สร้างปราสาทราชมณเฑียร
๒. โปรดให้ยกผนังกั้นน้ำตั้งแต่สองแคว (พิษณุโลก) มาถึงสุโขทัย
๓. ทรงปกครองด้วยทศพิธราชธรรม

๑.๓) ด้านอักษรศาสตร์

๑. ทรงพระราชนิพนธ์ เรื่อง “ไตรภูมิพระร่วง” อันเป็นวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาเรื่องแรกของไทย
๒. โปรดให้สร้างศิลาจารึกไว้หลายหลักจารึกทั้งภาษาไทย มคธ และขอม นอกจากนี้ยังทรงเชี่ยวชาญในด้านไสยศาสตร์ โหราศาสตร์ ดาราศาสตร์ โดยที่พระองค์ทรงสามารถคำนวณปฏิทินและลบศักราชได้
พระมหาธรรมราชาลิไทย ทรงเป็นปราชญ์ ทรงรอบรู้ในศิลปะศาสตร์มากมาย ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจและทรงมีพระจริยาวัตรอันเป็นประโยชน์อย่างไพศาล แก่ฝ่ายพุทธจักรและอาณาจักรเป็นอย่างยิ่ง พระองค์ทรงประพฤติในทางที่จะเป็นธรรมราชา คือ การปกครองพระราชอาณาจักรด้วยธรรมานุภาพเป็นสำคัญ ด้วยเหตุดังกล่าวอาณาจักรสุโขทัยในสมัยพระองค์จึงเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่าง ยิ่ง
พระมหาธรรมราชาลิไท สวรรคตในปีใดไม่ปรากฏแน่ชัด แต่เข้าใจว่าเป็นช่วงใดช่วงหนึ่ง ระหว่างปี พ.ศ. ๑๙๑๑-๑๙๑๗


๒) คุณธรรมที่ควรยึดถือเป็นแบบอย่าง

    ๒.๑) ทรงมีความกตัญญูอย่างยิ่ง พระธรรมราชาลิไท ทรงมีความรักและกตัญญูต่อ
พระ ราชมารดาของพระองค์เป็นอย่างยิ่ง สังเกตได้จากการที่ทรงพระราชนิพนธ์หนังสือพระพุทธศาสนาชื่อ “ไตรภูมิพระร่วง” ทรงแจ้งวัตถุประสงค์ข้อหนึ่งว่า เพื่อเทศนาโปรดพระมารดา การพระราชนิพนธ์คัมภีร์พระพุทธศาสนา ถือว่าเป็นการสร้างกุศลอันยิ่งใหญ่อย่างหนึ่ง พระองค์ไม่ลืมที่จะแบ่งบุญให้แก่พระมารดาของพระองค์ แสดงว่าทรงมีความรักและกตัญญูใน “แม่บังเกิดเกล้า”มาก เป็นการดำเนินตามรอยพระยุคลบาทพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่เสด็จขึ้นไปแสดงพระธรรมเทศนาโปรดอดีตพระพุทธมาดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ฉะนั้น

     ๒.๒) ทรงมีความสามารถในการถ่ายทอดนามธรรมให้เป็นรูปธรรม เนื้อหาของไตรภูมิพระร่วง กล่าวถึงเรื่องศีลธรรม จริยธรรม เรื่องนรก สวรรค์ เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ยากที่จะอธิบายให้เข้าใจได้ แต่พระมหาธรรมราชาลิไท ทรงมีความสามารถในการถ่ายทอด ทรงทำเรื่องยากให้ง่ายได้ โดยเฉพาะการยกตัวอย่างหรืออุปมาอุปไมย ทรงทำได้อย่างเหมาะสมกับเนื้อหาและทำให้ผู้อ่านเข้าใจได้แจ่มแจ้ง
๒.๓) ทรงมีความคิดริเริ่มเป็นยอด วิเคราะห์ได้จากการที่ทรงบรรยายธรรมในไตรภูมิพระร่วง จะเห็นว่าพระธรรมราชาลิไทมิเพียงแต่ “คัดลอก” ความคิดจากคัมภีร์พระไตรปิฎกและอรรถกถา ฎีกา เท่านั้น หากพระองค์ทรงเสนอแนวคิดใหม่ๆ ด้วย เช่น แนวคิดเรื่องคนทำชั่วแล้วถูกจารึกชื่อบนหนังหมา ซึ่งในคัมภีร์พระไตรปิฎกและอรรถกถา ฎีกา ก่อนหน้านั้นพูดถึงเฉพาะคนทำดีแล้วถูกจารึกชื่อในแผ่นทองเท่านั้น
นอกจาก นี้ พระยาลิไทยังทรงคิดนรกขึ้นมาใหม่ เพื่อลงโทษคนทำความผิดที่ (เชื่อกันว่า) มีในสมัยพระองค์ ซึ่งไม่มีในสมัยพระไตรปิฎกและอรรถกถา ฎีกา คือ ทรงบรรยายถึงคนที่เป็นพ่อค้าโกงสินค้า ข้าราชการทุจริตคอรัปชั่น ตายไปแล้วไปตกนรกขุมดังกล่าว ทรงนำเอาพฤติกรรมของคนสมัยสุโขทัยมาตีแผ่ว่าคนเหล่านั้นตายแล้วจะต้องไปนรก ทำให้พระสกนิกรของพระองค์ “อายชั่ว – กลัวบาป” ไม่กล้าทุจริตคอรัปชั่น แม้ว่าจะไม่มีใครเห็นก็ตาม เพราะฉะนั้นไตรภูมิพระร่วง มองอีกแง่หนึ่งก็คือ “กฎหมายทางใจ” ที่ควบคุมมิให้พสกนิกรของพระองค์ทำผิดทำชั่วนั่นเอง นับเป็นความคิดริเริ่มในการหาอุบายสอนศีลธรรมได้อย่างแยบคาย

บทสวดมนต์ : คาถาชินบัญชร






 อ า นิ ส ง ส์ ข อ ง ก า ร ส ว ด ม น ต์
- บำบัดทุกข์โศกโรคภัย รวมทั้งความรุ่มร้อนใจ
- ขจัดภัยอันตราย สิ่งชั่วร้ายที่จะพึงมี
- ปัดเป่าอุบาทว์ เสนียดจัญไร สิ่งอวมงคล
- ป้องกันภัยต่างๆ มีโจรภัย อัคคีภัย อสรพิษสัตว์ร้ายทั้งปวง
- ส่งเสริมให้เจริญด้วย อายุ วรรณะ สุขะ พละ
- ให้แคล้วคลาดภัย ประสบความสวัสดี มีชัยเจริญงอกงามในชีวิต
...





คาถาชินบัญชร โดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)
 
พระคาถานี้เป็นคาถาศักดิ์สิทธิ์ตกทอดมาจากลังกา
ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯค้นพบในคัมภีร์โบราณและได้ดัดแปลงแต่งเติมให้ดีขึ้นเป็นเอกลักษณ์พิเศษ
ผู้ใดสวดภาวนาพระคาถานี้เป็นประจำสม่ำเสมอจะทำให้เกิดความสิริมงคลแก่ตนเอง
ศัตรูไม่กล้ากล้ำกราย มีเมตตามหานิยม ขจัดภัยตลอดจนคุณไสยต่างๆ
ก่อนเจริญภาวนาให้ตั้งนะโม ๓ จบ แล้วระลึกถึงหลวงปู่โตและตั้งคำอธิษฐานแล้วเริ่มสวด













  • เริ่มสวด นโม 3 จบ

    นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
    นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
    นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

  • นึกถึงหลวงปู่โตแล้วตั้งอธิษฐาน

    ปุตตะกาโมละเภปุตตัง ธะนะกาโมละเภธะนัง
    อัตถิกาเยกายะญายะ เทวานังปิยะตังสุตตะวา
    อิติปิโสภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ
    มรณังสุขัง อะระหังสุคะโต นะโมพุทธายะ


  • เริ่มบทพระคาถาชินบัญชร
    1. ชะยาสะนากะตา พุทธา       เชตวา มารัง สะวาหะนัง
      จะตุสัจจาสะภัง ระสัง         เย ปิวิงสุ นะราสะภา.

    2. ตัณหังกะราทะโย พุทธา      อัฏฐะวีสะติ นายะกา
      สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง       มัตถะเกเต มุนิสสะรา.

    3. สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง        พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน
      สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง      อุเร สัพพะคุณากะโร.

    4. หะทะเย เม อะนุรุทโธ        สารีปุตโต จะทักขิเณ
      โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง    โมคคัลลาโน จะ วามะเก.

    5. ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง       อาสุง อานันทะ ราหุโล
      กัสสะโป จะ มะหานาโม      อุภาสุง วามะโสตะเก.

    6. เกสันเต ปิฏฐิภาคัสมิง        สุริโย วะ ปะภังกะโร
      นิสินโน สิริสัมปันโน          โสภิโต มุนิปุงคะโว


    7. กุมาระกัสสโป เถโร           มะเหสี จิตตะ วาทะโก
      โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง       ปะติฏฐาสิคุณากะโร.

    8. ปุณโณ อังคุลิมาโร จะ          อุปาลี นันทะ สีวะลี
      เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา        นะลาเต ติละกา มะมะ.

    9. เสสาสีติ มะหาเถรา            วิชิตา ชินะสาวะกา
      เอเตสีติ มะหาเถรา            ชิตะวันโต ชิโนระสา
      ชะลันตา สีละเตเชนะ           อังคะมังเคสุ สัณฐิตา.

    10. ระตะนัง ปุระโต อาสิ            ทักขิเณ เมตตะ สุตตะกัง
      ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ         วาเม อังคุลิมาละกัง

    11. ขันธะโมระปะริตตัญจะ         อาฏานาฏิยะ สุตตะกัง
      อากาเส ฉะทะนัง อาสิ           เสสา ปาการะสัณฐิตา

    12. ชินา นานาวะระสังยุตตา         สัตตัปปาการะ ลังกะตา
      วาตะปิตตาทะสัญชาตา          พาหิรัช ฌัตตุปัททะวา.

    13. อะเสสา วินะยัง ยันตุ            อะนันตะชินะ เตชะสา
      วะสะโต เม สะกิจเจนะ          สะทา สัมพุทธะปัญชะเร.

    14. ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ           วิหะรันตัง มะฮี ตะเล
      สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ        เต มะหาปุริสาสะภา.

    15. อิจเจวะมันโต            สุคุตโต สุรักโข
      ชินานุภาเวนะ           ชิตุปัททะโว
      ธัมมานุภาเวนะ          ชิตาริสังโฆ
      สังฆานุภาเวนะ          ชิตันตะราโย
      สัทธัมมานุภาวะปาลิโต   จะรามิ ชินะ ปัญชะเรติ.


    คำแปล
  1. พระพุทธเจ้าและพระนราสภาทั้งหลาย ผู้ประทับนั่งแล้วบนชัยบัลลังก์
    ทรงพิชิตพระยามาราธิราชผู้พรั่งพร้อมด้วยเสนาราชพาหนะแล้ว เสวยอมตรสคือ
    อริยะสัจธรรมทั้งสี่ประการ เป็นผู้นำสรรพสัตว์ให้ข้ามพ้นจากกิเลสและกองทุกข์

  2. มี ๒๘ พระองค์คือ พระผู้ทรงพระนามว่า ตัณหังกรเป็นต้น พระพุทธเจ้าผู้จอมมุนีทั้งหมดนั้น

  3. ข้าพระพุทธเจ้าขออัญเชิญมาประดิษฐานเหนือเศียรเกล้า
    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประดิษฐานอยู่บนศีรษะ
    พระธรรมอยู่ที่ดวงตาทั้งสอง
    พระสงฆ์ผู้เป็นอากรบ่อเกิดแห่งสรรพคุณอยู่ที่อก

  4. พระอนุรุทธะอยู่ที่ใจพระสารีบุตรอยู่เบื้องขวา
    พระโมคคัลลาน์อยู่เบื้องซ้าย พระอัญญาโกณทัญญะอยู่เบื้องหลัง

  5. พระอานนท์กับพระราหุลอยู่หูขวา
    พระกัสสะปะกับพระมหานามะอยู่ที่หูซ้าย

  6. มุนีผู้ประเสริฐคือพระโสภิตะผู้สมบูรณ์ด้วยสิริดังพระอาทิตย์ส่องแสง
    อยู่ที่ทุกเส้นขน ตลอดร่างทั้งข้างหน้าและข้างหลัง

  7. พระเถระกุมาระกัสสะปะผู้แสวงบุญทรงคุณอันวิเศษ
    มีวาทะอันวิจิตรไพเราะอยู่ปากเป็นประจำ

  8. พระปุณณะ พระอังคุลิมาล พระอุบาลี พระนันทะ และพระสีวะลี
    พระเถระทั้ง ๕ นี้ จงปรากฏเกิดเป็นกระแจะจุณเจิมที่หน้าผาก

  9. ส่วนพระอสีติมหาเถระที่เหลือผู้มีชัยและเป็นพระโอรส
    เป็นพระสาวกของพระพุทธเจ้าผู้ทรงชัย แต่ละองค์ล้วน
    รุ่งเรืองไพโรจน์ด้วยเดชแห่งศีลให้ดำรงอยู่ทั่วอวัยวะน้อยใหญ่

  10. พระรัตนสูตรอยู่เบื้องหน้าพระเมตตาสูตรอยู่เบื้องขวา
    พระอังคุลิมาลปริตรอยู่เบื้องซ้าย พระธชัคคะสูตรอยู่เบื้องหลัง

  11. พระขันธปริตร พระโมรปริตร และพระอาฏานาฏิยสูตร
    เป็นเครื่องกางกั้นดุจหลังคาอยู่บนนภากาศ

  12. อนึ่งพระชินเจ้าทั้งหลาย นอกจากที่ได้กล่าวมาแล้วนี้
    ผู้ประกอบพร้อมด้วยกำลังนานาชนิด มีศีลาทิคุณอันมั่นคง
    สัตตะปราการเป็นอาภรณ์มาตั้งล้อมเป็นกำแพงคุ้มครองเจ็ดชั้น

  13. ด้วยเดชานุภาพแห่งพระอนันตชินเจ้าไม่ว่าจะทำกิจการใดๆ
    เมื่อข้าพระพุทธเจ้าเข้าอาศัยอยู่ในพระบัญชรแวดวงกรงล้อม
    แห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอโรคอุปัทวะทุกข์ทั้งภายนอกและภายใน
    อันเกิดแต่โรคร้าย คือ โรคลมและโรคดีเป็นต้น
    เป็นสมุฏฐานจงกำจัดให้พินาศไปอย่าได้เหลือ

  14. ขอพระมหาบุรุษผู้ทรงพระคุณอันล้ำเลิศทั้งปวงนั้น
    จงอภิบาลข้าพระพุทธเจ้า ผู้อยู่ในภาคพื้น ท่ามกลางพระชินบัญชร
    ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการคุ้มครองปกปักรักษาภายในเป็นอันดีฉะนี้แล

  15. ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการอภิบาลด้วยคุณานุภาพแห่งสัทธรรม
    จึงชนะเสียได้ซึ่งอุปัทวอันตรายใดๆ ด้วยอานุภาพแห่งพระชินะพุทธเจ้า
    ชนะข้าศึกศัตรูด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม ชนะอันตรายทั้งปวงด้วยอานุภาพ
    แห่งพระสงฆ์ ขอข้าพระพุทธเจ้าจงได้ปฏิบัติ และรักษาดำเนินไปโดยสวัสดีเป็นนิจนิรันดรเทอญฯ


..................................

ชาวพุทธตัวอย่าง : พระโสณะ และพระอุตตระ



พระโสณะ และพระอุตตระ
 

ชีวประวัติ...

     ประวัติของพระโสณะและพระอุตตระ ไม่ปรากฏชัด จากการศึกษาพบว่า ปรากฏชื่อของท่านทั้งสองในการทำสังคายนาครั้งที่ 3จึงเชื่อว่าท่านทั้งสองอยู่ในช่วงสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช (สังคายนาครั้งที่ 3 ประมาณปี พ.ศ. 218) ในประเทศอินเดีย

ผลงานที่สำคัญ

    พระโสณะและพระอุตตระ เป็นสมณทูตที่พระเจ้าอโศกมหาราชและพระโมคคัลลสีบุตรได้คัดเลือกให้พระเถระ ผู้ทรงภูมิธรรมที่สามารถออกไปประกาศพระพุทธศาสนาในประเทศต่าง ๆ พระโสณะและพระอุตตระถูกคัดเลือกให้เป็นพระสมณะทูตคณะที่ 8 และ 9 ดังรายละเอียดปรากฏในพุทธศาสนาในสุวรรณภูมิ ดังนี้

      พระเจ้าอโศกมหาราช แม้จะทรงอุปถัมภ์การสังคายนาครั้งที่ 3 ของนิกายเถรวาทแต่พระองค์ก็ยังทรงอุปถัมภ์เคารพนับถือสงฆ์ในนิกายอื่น ๆ ด้วย พระสงฆ์นิกายเถรวาทที่ทำสังคายนามีเพียง 1,000 รูป แต่ยังมีพระสงฆ์อรหันตเถระในนิกายอื่นอีกมาก โดยเฉพาะนิกายสราวสติวาทิน (เป็นนิกายย่อยของเถรวาท) พระที่พระองค์ส่งไปทั้ง 9 สายนั้น คงมีหลายนิกาย แต่ที่แน่ ๆ ก็คือ สายที่ 8 กับสายที่ 9 เป็นสายใต้เป็นพระนิกายเถรวาท ดังนั้น พระโสณะกับพระอุตตระและคณะจึงเป็นเถรวาท ใช้ภาษาบาลีจดจารึกพระไตรปิฏก ปรากฏในคัมภีร์สมันตปาสาทิกา ว่าพระโสณะกับพระอุตตระไปสุวรรณภูมิ ดังคำว่า...

"  สุวณฺณภูมิ คจฺฉนฺตฺวาน โสณุตฺตรา มหิทฺธิกา
ปิสาเจ นิทฺธมิตฺวาน พฺรหฺมชาลํ อเทสิสุ  "


(ความว่า พระโสณะและพระอุตตระผู้มีฤทธิ์มาก ไปสู่สุวรรณภูมิ ปราบปรามพวกปีศาจแล้ว ได้แสดงพรหมชาลสูตร)
ตาม คัมภีร์สมันตปาสาทิกา กล่าวถึงพระโสณะและพระอุตตระ แสดงอภินิหาริย์ปราบนางผีเสื้อน้ำและทรงแสดงธรรมพรหมชาลสูตร (สูตรว่าด้วยข่ายอันประเสริฐ ประกอบด้วย ศีลน้อย ศีลกลาง และศีลใหญ่) นั่นคือการประพฤติตนอยู่ในสรณะและศีล มีคนทั้งหลายในสุวรรณภูมิประเทศนี้ได้บรรลุธรรมประมาณ 60,000 คน กุลบุตรออกบวชประมาณ 3,500 คน

    แสดงให้เห็นว่า พระโสณะและพระอุตตระ เป็นแบบอย่างของผู้ประพฤติอยู่ในสรณะและศีล จึงสามารถปราบพวกภูติผีปีศาจได้ และมีบทบาทสำคัญต่อการนับถือพระพุทธศาสนาของคนไทยก็คือ นิกายเถรวาท ซึ่งเป็นนิกายที่คนส่วนใหญ่ในประเทศไทยให้ความนับถือจนถึงปัจจุบัน...

ชาวพุทธตัวอย่าง : พระเจ้าอโศกมหาราช

พระเจ้าอโศกมหาราช

 

••••••••••••••

ชีวประวัติ

     พระเจ้าอโศกมหาราช เป็นโอรสของพระเจ้าพิมพิสาร และพระนางสุภัทรา ประสูติเมื่อปี พ.ศ. 184 เมื่อพระชนมายุได้ 18 พรรษา ได้รับแต่งตั้งเป็นอุปราช เมืองอุชเชนี แคว้นอวันตี

..ต่อมาได้อภิเษกกับพระนางเวทิสะมหาเทวี แห่งเมืองเวทิสา และมีพระราชโอรสพระนามว่า มหินทะ (พ.ศ. 204) และมีพระราชธิดา พระนามว่า สังฆมิตตา (พ.ศ. 206) ซึ่งต่อมา ทั้งสองพระองค์นี้ได้อุปสมบทในพระพุทธศาสนา และได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์เป็นกำลังสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา


ผลงานที่สำคัญ
    จาก หนังสือ “จารึกอโศก” ของพระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) 2516 ได้กล่าวถึงพระเจ้าอโศกมหาราชไว้ว่า พระเจ้าอโศกมหาราช กษัตริย์พระองค์ที่ 3 แห่งราชวงศ์โมริยะ ครองราชสมบัติ ณ พระนครปาฎลีบุตร ตั้งแต่ พ.ศ. 218 ถึง พ.ศ. 260 ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของชมพูทวีป และเป็นองค์เอกอัครศาสนูปถมภ์ภกที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์แห่งพระพุทธ ศาสนา เมื่อขึ้นครองราชย์ได้ 8 พรรษา ได้ทรงกรีฑาทัพไปปราบแคว้นกลิงคะ ซึ่งเป็นชาติที่เข้มแข็ง แม้จะทรงมีชัยขยายดินแดนแห่งแว่นแคว้นของพระองค์ออกไป จนมีอาณาเขตกว้างใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติอินเดีย เทียบได้กับประเทศอินเดีย ปากีสถาน และบังคลาเทศปัจจุบันรวมกัน แต่ก็ทรงสลดพระทัยในความโหดร้ายทารุณของสงครามเป็นเหตุให้ทรงหันมานับถือพระ พุทธศาสนา และทรงดำเนินนโยบายทะนุบำรุงพระราชอาณาจักร และเจริญพระราชไมตรีกับนานาประเทศโดยทางสันติตามนโยบายธรรมวิชัย ก่อนแต่ทรงหันมานับถือพระพุทธศาสนา ทรงปรากฎพระนามว่า จัณฑาโศก คือ อโศกผู้ดุร้าย ครั้นหันมาทรงนับถือพระพุทธศาสนา และดำเนินนโยบายธรรมวิชัยแล้วได้รับขนานพระนามใหม่ว่า ธรรมาโศก คือ อโศกผู้ทรงธรรม

     พระราชกรณียกิจของพระเจ้าอโศกมหาราช ในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา กล่าวเฉพาะที่สำคัญ ได้แก่ การทรงสร้างมหาวิหาร 84,000 แห่ง เป็นแหล่งที่พระภิกษุสงฆ์ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย บำเพ็ญสมณธรรม และสั่งสอนประชาชน ทรงอุปถัมภ์การสังคายนาครั้งที่ 3 และทรงส่งพรเถรานุเถระไปประกาศพระศาสนาในแว่นแคว้นต่าง ๆ เป็นเหตุให้พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองแพร่หลายไปในประเทศต่าง ๆ และทำให้ประเทศทั้งหลายในเอเซียตะวันออกมีอารยธรรมเนื่องกันมาจนถึงปัจจุบัน
ใน ด้านรัฐประศาสโนบาย ทรงถือหลักธรรมวิชัยมุ่งชนะจิตใจของประชาชน ด้วยการปกครองแผ่นดินโดยธรรม ยึดเอาประโยชน์สุขของประชาชนเป็นที่ตั้ง ส่งเสริมกิจการสาธารณูปการ ประชาสงเคราะห์ สวัสดิการสังคม และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมอย่างกว้างขวาง ทำให้ชมพูทวีปในรัชสมัยของพระองค์เป็นบ่อเกิดสำคัญแห่งอารยธรรมที่แผ่ไพศาล มั่นคง พระนามของพระองค์ดำรงอยู่ยั่งยืนนานและอนุชนเรียกขานด้วยความเคารพเทิดทูน เหนือกว่าปวงมหาราชผู้ทรงเดชานุภาพพิชิตแว่นแคว้นทั้งหลายได้ด้วยชัยชนะใน สงคราม

     พระราชจริยาวัตรของพระเจ้าอโศกมหาราช เป็นกัลยาณจารีตอันมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่สมัยต่อ ๆ มาที่นิยมทางสันติ และได้รับสมัญญาว่าเป็นมหาราช ทรงนับถือเป็นแบบอย่างดำเนินตามโดยทั่วไป ซึ่งพระราชจริยาวัตร และพระราชกรณียกิจของพระเจ้าอโศกมหาราช ปรากฏเป็นหลักฐานอยู่ในศิลาจารึก ซึ่งพระองค์ได้โปรดให้เขียนสลักไว้ ณ สถานที่ต่าง ๆ ทั่วจักรวรรดิอันไพศาลของพระองค์ ความที่จารึกไว้เรียกว่า ธรรมลิปิ แปลว่า ลายสือธรรม หรือความที่เขียนไว้เพื่อสอนธรรม ถือเอาความหมายเข้ากรับเรื่องว่าธรรมโองการ ธรรมลิปิที่โปรดให้จารึกไว้เท่าที่พบ มีจำนวน 28 ฉบับ แต่ละฉบับ มักจารึกไว้ในที่หลายแห่ง บางฉบับขุดค้นพบแล้วถึง 12 แห่งก็มี ความในธรรมลิปินั้น แสดงพระราชประสงค์ของพระองค์ที่มีต่อประชาชนบ้าง หลักธรรมที่ทรงแนะนำสั่งสอนประชาชนและข้าราชการบ้าง พระราชกรณียกิจที่ได้ทรงบำเพ็ญแล้วบ้าง กล่าวโดยสรุป อาจวางเป็นหัวข้อได้ดังนี้ คือ.-

ก. การปกครอง

1. การปกครองแบบบิดากับบุตร โดยมีข้าราชการเป็นพี่เลี้ยงของประชาชน
2. การถือประโยชน์สุขของประชาชนเป็นหน้าที่สำคัญที่สุด เน้นความยุติธรรมและความฉับไวในการปฏิบัติหน้าที่ราชการ
3.การ จัดให้มีเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการสั่งสอนธรรม คอยดูแลแนะนำประชาชนในทางความประพฤติและการดำรงชีวิตอย่างทั่วถึง และวางระบบข้าราชการควบคุมกันเป็นชั้น ๆ
4. การจัดบริการสาธารณประโยชน์และสังคมสงเคราะห์ เช่น บ่อน้ำ ที่พักคนเดินทาง ปลูกสวน สงวนป่า โอสถศาลา สถานพยาบาลสำหรับคนและสัตว์

ข. การปฏิบัติธรรม


1. เน้นทาน คือการช่วยเหลือเอื้อเฟื้อกันด้วยทรัพย์และสิ่งของ แต่ย้ำธรรมทาน คือการช่วยเหลือด้วยการแนะนำในทางความประพฤติ และการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง ว่าเป็นกิจสำคัญที่สุด

2. การคุ้มครองสัตว์ งดเว้นการเบียดเบียนสัตว์ โดยเฉพาะให้เลิกการฆ่าสัตว์บูชายัญอย่างเด็ดขาด

3. ให้ระงับการสนุกสนานบันเทิงแบบมัวเมามั่วสุมรื่นเริง หันมาใฝ่ในกิจกรรมทางการปฏิบัติธรรมและเจริญปัญญา เริ่มแต่องค์พระมหากษัตริย์เอง เลิกเสด็จเที่ยวหาความสำราญโดยการล่าสัตว์ เป็นต้น เปลี่ยนมาเป็นธรรมยาตรา เสด็จไปนมัสการปูชนียสถาน เยี่ยมเยียนชาวชนบทและแนะนำประชาชน ให้ปฏิบัติธรรมแทนการประกอบพิธีมงคลต่าง ๆ

4. ย้ำการปฏิบัติธรรม ที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในสังคม เช่น การเชื่อฟังบิดามารดา การเคารพนับถือครูอาจารย์ การปฏิบัติชอบต่อทาสกรรมกร เป็นต้น

5. เสรีภาพในการนับถือศาสนา และความสามัคคีปรองดอง เอื้อเฟื้อนับถือกันระหว่างชนต่างลัทธิศาสนา

    ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาถือว่า สมัยพระเจ้าอโศกมหาราชเป็นสมัยหนึ่งที่พระพุทธศาสนาเจริญสูงสุดในทุก ๆ ด้าน พระเจ้าอโศกมหาราชนอกจากจะทรงอุปถัมภ์การทำสังคายนา และทรงส่งสมณฑูตไปประกาศพระศาสนาในที่ต่าง ๆ แล้ว ยังได้ทรงสร้างปูชนียสถาน และวัตถุอนุสรณ์ในพระพุทธศาสนามากมาย เช่น ทรงสร้างวิหาร 84,000 แห่ง เจดีย์ 84,000 องค์ ในนครทั้งสิ้น 84,000 นคร อนึ่ง พระองค์ทรงนำเอาหลักธรรมในพระพุทธศาสนาไปใช้ในการปกครองประเทศ ทรงสร้างศิลาจารึกแสดงคำสอนตามหลักพระพุทธศาสนาไว้ในที่ต่าง ๆ ทั่วราชอาณาจักร ซึ่งเป็นหลักฐานในการศึกษาพระพุทธศาสนาในสมัยของพระองค์เป็นอย่างดี