วันเสาร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ชาวพุทธตัวอย่าง : ม.จ.หญิงพูนพิสมัย ดิสกุล


ม.จ.หญิงพูนพิสมัย ดิสกุล   


 


พระประวัติ

     ท่านประสูติเมื่อวันที่17กุมภาพันธ์2438ณวังสามยอดพระนครพระบิดา คือสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพพระบิดาแห่งประวัติศาสตร์และโบราณคดีไทย ท่านทรงเรียนวิชาภาษาไทยกับคุณหญิงวิทยาปรีชามาตย์(อ่อง)กับข้าราชการในกรม ราชเสนาธิการทางด้านภาษาต่างประเทศทรงสนพระทัยเช่นเดียวกันทั้งภาษาอังกฤษ และฝรั่งเศส จนมีความรู้ภาษาอังกฤษแตกฉานได้เสด็จไปแสดงปาฐกถาในต่างประเทศและเข้าร่วม ประชุมพระพุทธศาสนาในประเทศศรีลังกาและประเทศเนปาลและทรงเป็นพระอาจารย์สอน วิชาประวัติศาสตร์ไทยและพุทธศาสนาของไทย ณ สถาบันตะวันออกซานฟรานซิสโกมหาวิทยาลัยดองกุก ประเทศเกาหลีใต้ ได้มอบปริญญาเอกสาขาปรัชญา ในฐานะที่ทรงเป็นผู้นำทางพระพุทธศาสนาด้วยความสำเร็จอย่างดีเยี่ยม ทรงทำให้ชาวพุทธทั่วโลกเข้าใจได้ดี
ผลงานและตำแหน่งที่สำคัญ

1. วรรณกรรมที่สร้างเกียรติยศชื่อเสียงได้แก่ บทนิพนธ์เรื่อง “ศาสนคุณ” ได้รับพระราชทานรางวัลที่ 1 เมื่อ พ.ศ. 2472 ทรงแสดงอักษรศิลป์ให้ผู้อ่านหนังสือเล่มนี้เลื่อมใสศรัทธาประสาทะในพระพุทธ ศาสนาอย่างยิ่ง
2. วรรณกรรมที่แพร่หลายในวงการ ได้แก่ ชุมนุมพระนิพนธ์เรื่อง “ประเพณีไทย”
3. สารคดีที่ทรงแต่งได้แก่ โลกเก่า โลกใหม่ ไปลังกาทวีป และตำรากับข้าว

นอกจากนี้ตอนปลายพระชนชีพได้ทรงพระนิพนธ์อีก 2 เล่มคือ เล่มแรกบรรจุประวัติบุคคลสำคัญและสารคดีในแหล่งต่าง ๆ ได้ 36 บทหรือ 36 เรื่อง เล่มที่สองมีเนื้อหาสาระเช่นเดียวกับเล่มแรกอีก 65 เรื่อง ทั้งสองเล่มชื่อว่า “ชุมนุมพระนิพนธ์”สำหรับตำแหน่งสำคัญ มีดังนี้

1. เมื่อ พ.ศ. 2489 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 8 โปรดเกล้าให้เป็นพระอาจารย์ถวายความรู้เกี่ยวกับพงศาวดารไทย
2. ท่านได้ดำรงตำแหน่งนายกพุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ นับเป็นสตรีคนแรกที่ได้รับเกียรตินี้
3. เป็นองค์ประธานองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลกท่านหญิงพูนพิสมัย ดิสกุล ทรงประกอบภารกิจไม่น้อยให้วงการพระพุทธศาสนาทั้งภายในประเทศและนานาประเทศ ด้วยความ
วิริยะอุตสาหะยิ่ง ในช่วงปลายพระชนม์ชีพทรงพักผ่อนด้วยโรคพยาธิ ณ ตำหนักเดิม ถนนหลานหลวง จนพระชมายุได้ 94 พรรษา

คุณธรรมที่เป็นแบบอย่าง

1. ท่านทรงนิพนธ์วรรณกรรม เรื่อง “ศาสนคุณ” ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา และทำให้ผู้ที่อ่านหนังสือเล่มนี้เกิดความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา
2. ท่านเป็นแบบอย่างของผู้หญิงที่ทรงเผยแผ่พระพุทธศาสนา โดยประกอบภารกิจใหญ่น้อยให้วงการพระพุทธศาสนาทั้งภายในและภายนอกประเทศ จนได้รับปริญญาเอกสาขาปรัชญาจากมหาวิทยาลัยดองกุก ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเคารพเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง และมีความวิริยะอุตสาหะที่จะเผยแผ่พระพุทธศาสนาตลอดพระชนม์ชีพของท่าน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น